ลักษณะงานมัลติมีเดียบนเว็บเพจ |
|
การสร้างเว็บเพจนอกจากจะใช้ข้อความ ภาพประกอบ ตาราง และองค์ประกอบอื่น ๆ ตามที่ได้ศึกษามาแล้วนั้น ยังสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหว เสียง และกราฟิกต่าง ๆ ท้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ซึ่งรวมเรียกว่า “มัลติมีเดีย” ได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้เว็บเพจน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยการใช้มัลติมีเดียต้องใช้เทคโนโลยีสำคัญ ได้แก่ Flash, Java, Java applet, Shockwave, Plug in และ ActiveX Control
Java เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรมขนาดเล็กเพื่อทำงานร่วมกับเว็บเพจ
Java Script เป็นคำสั่งภาษา Java ขนาดสั้นเหมาะสำหรับสร้างลูกเล่นให้เว็บเพจ เช่น สร้างฟอร์มติดต่อกับผู้ใช้งาน นำมาสร้างเว็บเพจได้นอกเหนือจากภาษา HTML
Java Applet เป็นโปรแกรมขนาดเล็กสร้างเกมส์ที่สร้างด้วยภาษา Java ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจง เช่น เกมส์ ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ
ActiveX เป็นโปรแกรมขนาดเล็กซึ่งเรียกว่า “ คอนโทรล (Control) ” ทำหน้าที่เฉพาะตามที่เขียนในโปรแกรมไว้ ถูกเรียกใช้โดยดาวน์โหลดจากเว็บเซิร์ฟเวอร์มาทำงานบนเครื่องอัตโนมัติ เช่น การแสดงภาพ 3 มิติ การหมุนภาพแบบ360 องศา ฯลฯ
Plugin เป็นโปรแกรมเสริมที่ทำงานร่วมกับเว็บเบราว์เซอร์
(อ้างอิงบทความจาก http://krulee28.blogspot.com/2012/02/blog-post_12.html)
รู้จักกับ Flash และ Shockwave |
สำหรับ Flash และ Shockwave นั้นเป็นรูปแบบของการสร้างภาพเคลื่อนไหว ที่นิยมใช้งานบนหน้าเว็บเพจมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้
การสร้างภาพเคลื่อนไหวบนเว็บด้วย Flash
Flash เป็นมาตรฐานการสร้างภาพเคลื่อนไหวบนเว็บเพจของบริษัท Adobe systems เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากเป็นโปรแกรมแบบ Vector-based แล้วใช้ลายเส้นเป็นหลัก ทำให้ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็ก เมื่อนำใช้งานบนหน้าเว็บเพจจะใช้เวลาในการโหลดน้อยมาก
ไฟล์งานมัลติมีเดียที่ได้จากโปรแกรม Flash จะมีนามสกุลเป็น .swf ซึ่งผู้ใช้งานนั้นจะต้องติดตั้งตัวเล่น Flash player ถึงจะสามารถเปิดไฟล์งานดูได้ แต่ในปัจจุบันนี้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์รุ่นใหม่ๆ ก็จะมีมาให้อยู่แล้ว
ตัวอย่างงานไฟล์งาน Flash |
|
การสร้างภาพเคลื่อนไหวบนเว็บด้วย Shockwave
Shockwave เป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแบบเก่าที่สร้างโปรแกรม Director และ Authorware ของบริษัท Macromedia ซึ่งปัจจุบันนี้ได้รวมตัวกับบริษัท Adobe ภายใต้ชื่อบริษัท Adobe System Inc.
ไฟล์มัลติมีเดียที่ถูกสร้างจากโปรแกรม Director จะเป็นการใช้ภาพเคลื่อนไหวและมีการโต้ตอบกับผู้ใช้งาน เช่น เกมส์ต่างๆ หรืองานมัลติมีเดียพรีเซนเตชั่น แต่ไฟล์งานที่สร้างจากโปรแกรม Authorware จะเน้นเรื่องของการสร้างมัลติมีเดียช่วยสอนหรือ CAI (Computer Assisted Instruction) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปสร้างงานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สำหรับไฟล์งานมัลติมีเดียที่ได้จากโปรแกรม Director และ Authorware จะมีขนาดใหญ่จึงไม่เหมาะที่จะนำมาแสดงบนหน้าเว็บเพจโดยตรง จึงต้องมีการแปลงไฟล์นั้นๆ ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อนำไปแสดงบนหน้าเว็บเพจได้ โดยไฟล์งานที่ถูกแปลงนั้น เรียกว่า Shockwave ซึ่งผู้เข้าชมนั้นจะต้องติดตั้งตัวเล่น Shockwave ก่อนจึงจะใช้งานหรือเปิดดูไฟล์ Shockwave บนหน้าเว็บเพจได้
โปรแกรม Macromedia Director MX |
โปรแกรม Macromedia Authorware |
|
|
|